ไทยคว้าอันดับ 2 ในเอเชีย ประเทศที่โอมิครอนระบาดหนักสุด

ปีใหม่แล้ว แต่โควิดยังอยู่

การระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไวรัสเกิดการกลายพันธุ์เพื่อเอาตัวรอด เมื่อพบว่าไวรัสเริ่มจะควบคุมได้จึงมักเจอสายพันธุ์ใหม่ ๆ เสมอ ล่าสุดที่กำลังระบาดหนักมากคือสายพันธุ์โอมิครอนที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบ ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

อาการของผู้ป่วยโอมิครอน

ไวรัสโควิดมีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปลายปี 2019 ในช่วงแรกจะเป็นสายพันธุ์แม่แบบก่อนจะมีการกลายพันธุ์เรื่อย ๆ โดย WHO เป็นหน่วยงานที่คอยรายงานสถานการณ์โลกอยู่ตลอด มีการจัดกลุ่มไวรัสโควิดกลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (VOI) และสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (VOC) โดยสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงจะเป็นสายพันธุ์ที่มีโอกาสแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว โอมิครอนก็เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน ผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอนจะมีอาการ ดังนี้

  • ไม่มีอาการป่วยหนักเหมือนสายพันธุ์อื่น

อาการของโอมิครอนสามารถแยกได้ยากเพราะแทบจะไม่แสดงอาการเลย ผู้ป่วยโอมิครอนสามารถใช้ชีสิตปกติได้เพราะไม่รู้สึกป่วย แต่ไวรัสจะแพร่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในอากาศ หากมีไข้ต่ำหรือรู้สึกป่วยแม่เพียงเล็กน้อยจึงควรตรวจโรคป้องกันเอาไว้ก่อน

  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

อาการที่ได้รับการยืนยันคือการมีเหงื่อออกตอนกลางคืนเวลานอน แม้จะเปิดแอร์ หรือแม้จะรู้สึกว่าอากาศปกติ แต่ร่างกายก็ยังขับเหงื่ออกมามากกว่าปกติอยู่ดี หากมีอาการเหล่านี้ควรมีการตรวจเช็คอาการโควิดโอมิครอน รวมถึงดูไทม์ไลน์ตัวเองหากใกล้ชิดผู้ป่วยมาก่อนหรือไม่

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

การปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นอีกสัญญาณเตือนของอาการโควิดโอมิครอน หากมีอาการร่วมกับการมีเหงื่อออกตอนกลางคืนไม่ควรปล่อยผ่าน แต่ควรมีการเข้าไปตรวจโควิดอย่างละเอียด เพราะมีโอกาสป่วยเป็นโควิดสายพันธุ์โอมิครอนสูง

นอกจากนั้นยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ต่ำ ไอแห้ง เหนื่อยง่าย แต่เป็นอาหารที่ไม่ชัดเจน เพราะไวรัสสายพันธุ์นี้ยังไม่เคยแสดงอาการร้ายแรงมาก่อน แต่ก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากโอมิครอนในประเทศอื่นมาแล้ว

การใช้ชีวิตในช่วงโควิด-19

สาเหตุที่ไทยติดเชื้อโอมิครอนอันดับ 2 ของเอเชีย

การแพร่กระจายตัวของไวรัสโอมิครอนอย่างรวดเร็วทำให้ไทยติดอันดับ 2 ในเอเชียที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมากที่สุด เป็นรองเพียงประเทศอินเดียเท่านั้น หากพิจารณาดูแล้วอินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของประชากรสูง โอกาสที่เชื้อกระจายอย่างรวดเร็วจึงสูง แต่ประเทศไทยที่มีขนาดเล็กกว่ามากกลับตามหลังมาติด ๆ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าทำไม จากการวิเคราะห์สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การเปิดประเทศใกล้เคียงกับช่วงโอมิครอนระบาด

ประเทศไทยเปิดประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 และมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ Test & Go รับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสเข้ามาในประเทศ มีเพียงการตรวจโควิดรอบแรกที่โรงแรมหรือสนามบิน หากไม่พบเชื้อก็สามารถท่องเที่ยวได้เลย ในช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามีการระบาดของโอมิครอนแล้ว แต่ยังไม่ทราบความรวดเร็วของการแพร่ระบาด ทำให้รับนักท่องเที่ยวที่อาจจะมีเชื้อเข้ามาในประเทศได้โดยง่าย

  • การวางแผนและนโยบายของผู้ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรอการพิสูจน์และการประกาศแจ้งจาก WHO ก่อนดำเนินการใด ๆ และอาจจะมีการประเมินสถานการณ์คลาดเคลื่อนด้วย ทำให้การแพร่กระจายตัวของโควิดค่อนข้างรวดเร็วกว่าที่ควร

  • การตรวจเจอคลัสเตอร์อย่างรวดเร็ว

ตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากการตรวจกลุ่มเสี่ยง การรู้คลัสเตอร์และตรวจเป็นจำนวนมากทำให้ตัวเลขพุ่งสูง จึงเป้นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไทยมีผู้ติดเชื้อมาก

หลายปีที่คนไทยอยู่กับโควิด จากตื่นตระหนก หว่ดกลัว สู่ความชินชา การดูแลตัวเองเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อลดการแพร่ระบาด มีการล้างมือบ่อย ๆ พกเจลแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัย ทำประกันสุขภาพ ทั้งหมดนี้เพื่อให้โรคระบาดหมดลงเสียที หวังว่าโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *